tdri logo

Notice: Undefined offset: 0 in /home/uatcenter/domains/uatcenter.com/public_html/tdri/wp-content/themes/twentytwentyfour-child/functions.php on line 229

Notice: Trying to get property 'term_id' of non-object in /home/uatcenter/domains/uatcenter.com/public_html/tdri/wp-content/themes/twentytwentyfour-child/functions.php on line 241
13 ม.ค. 2013
Read in Minutes

Views

′ทีดีอาร์ไอ′หนุนแจกคูปอง 22 ล้านครัวเรือนเปลี่ยนกล่องทีวีดิจิตอล

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ในการช่วยเหลือคนไทยเปลี่ยนผ่านระบบการรับชมโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล ภายหลังคณะอนุกรรมการ กสท.ด้านการเปลี่ยนผ่านดิจิตอล มีมติในการเลือกวิธีออกคูปองเงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเลือกซื้ออุปกรณ์รับชมทีวีในระบบดิจิตอลแก่คนไทยทั้ง 22 ล้านครัวเรือน ทั้งนี้ จะคิดมูลค่าคูปองจากราคาตั้งต้นการประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง หารด้วยจำนวนครัวเรือนที่มีอยู่ 22 ล้านครัวเรือนในประเทศไทย ซึ่งล่าสุด กสทช.อยู่ระหว่างการเจรจากับ กสทช.จากประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ประกอบด้วย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ในการกำหนดลักษณะเฉพาะของวัสดุอุปกรณ์ที่จะมาประกอบและผลิตเป็นกล่องรับสัญญาณทีวีในระบบดิจิตอลให้เป็นมาตรฐานพร้อมใช้งานแบบเดียวกันทั้งภูมิภาค

“การเจรจาความร่วมมือในลักษณะนี้ หากสำเร็จจะทำให้ผู้ประกอบการรายหนึ่งสามารถผลิตกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้สูงถึงครั้งละ 300-400 ล้านกล่อง เพื่อจำหน่ายทั่วภูมิภาค จากเดิมที่จะผลิตเพียง 60-70 ล้านกล่อง เพื่อให้เพียงพอสำหรับจำหน่ายประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ซึ่งปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตลดลง และส่งผลให้ราคากล่องรับสัญญาณถูกลงด้วย” พ.อ.นทีกล่าว และว่า ปัจจุบันกล่องรับสัญญาณที่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลจะมีราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1,000 บาท ซึ่งคาดว่าจากการเจรจาความร่วมมือกับ กสทช.ในภูมิภาคอาเซียน และการแข่งขันในตลาด ภายหลังมีการเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล ราคากล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลจะถูกลงแน่นอน

พ.อ.นทีกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินวงเงินรวมของประชาชนทั้งประเทศ ที่ต้องใช้สำหรับการซื้ออุปกรณ์เปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล เนื่องจาก กสท.กำลังรอข้อมูลราคาคลื่นที่แท้จริงในระบบทีวีดิจิตอล เพื่อมากำหนดราคาตั้งต้นการประมูลทั้ง 24 ช่อง ประกอบด้วยช่องแบบปกติ 20 ช่อง และที่มีความคมชัดคุณภาพสูง (เอชดี) 4 ช่อง จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะสามารถสรุปส่งให้ กสท.ได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะนำมากำหนดราคาตั้งต้นการประมูลและไม่เกี่ยวกับค่าอุปกรณ์รับสัญญาณแต่อย่างใด

“เป็นการยากที่จะคำนวณผู้ที่ได้รับคูปองสนับสนุนไปแล้วจะเลือกซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือทีวีเครื่องใหม่ที่สามารถจูนเนอร์สัญญาณทีวีดิจิตอลได้ โดยราคาเฉลี่ยของทีวีรุ่นใหม่ที่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้จะอยู่ที่ราว 1 หมื่นบาทขึ้นไป” พ.อ.นทีกล่าว

พ.อ.นทีกล่าวว่า นอกจากนี้คาดว่าการกำหนดจำนวนเงินอุดหนุนในคูปองสนับสนุน จะได้ข้อสรุปภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ หลังจากบอร์ด กสท.สามารถสรุปราคาตั้งต้นของการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มธุรกิจทั้งหมดได้ ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลทีวีดิจิตอลจะออกมาในช่วงเดือนเมษายนนี้ และการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มของช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง จะสามารถเกิดขึ้นภายในเดือนกรกฎาคม 2556

matichon20130113ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดการเปลี่ยนผ่านระบบทีวีอนาล็อกสู่ระบบทีวีดิจิตอล ด้วยวิธีการออกคูปองสนับสนุนการซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณแก่คนไทย เนื่องจากไม่ใช่การผลักภาระการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีให้ประชาชนฝ่ายเดียว แต่การคิดคำนวณมูลค่าเงินสนับสนุนในคูปอง ไม่ควรผูกติดกับมูลค่าคลื่นความถี่ของทีวีดิจิตอล เพราะการคำนวณหามูลค่าคลื่นที่แท้จริง มาจากการประเมินเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งจากนี้ไป กสทช.ควรเข้มงวดกับการกำกับดูแลคุณภาพของกล่องรับสัญญาณของทีวีดิจิตอล เพราะเชื่อได้ว่าเมื่อถึงเวลาจะมีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งที่นำเอากล่องรับสัญญาณราคาถูกที่ไม่มีคุณภาพมาจัดจำหน่ายแก่ประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอล ในกลุ่มของช่องประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ที่จะนำจำนวนเงินมูลค่าตั้งต้นของการประมูลมาใช้เป็นคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดิจิตอล เบื้องต้นผู้ที่อยู่ในข่ายและสนใจที่จะเข้าประมูล ประกอบด้วย ช่อง 3, 5, 7, 9 และผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน อาทิ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) สำหรับช่องประเภทธุรกิจที่เป็นระบบเอชดีจำนวน 4 ช่อง ซึ่งจะมีราคาตั้งต้นการประมูลที่สูงกว่าช่องปกติและเป็นที่หมายปองของผู้ประกอบการนั้น ปัจจุบันมีผู้แสดงความจำนงเข้าประมูลชัดเจนแล้ว 2 ราย ประกอบด้วย กลุ่มบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัท อินทัช จำกัด (มหาชน)
ด้าน กสทช.เดินสายเจรจาประเทศอาเซียนกำหนดมาตรฐานเหมือนกันทั่วภูมิภาค

เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ในการช่วยเหลือคนไทยเปลี่ยนผ่านระบบการรับชมโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล ภายหลังคณะอนุกรรมการ กสท.ด้านการเปลี่ยนผ่านดิจิตอล มีมติในการเลือกวิธีออกคูปองเงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเลือกซื้ออุปกรณ์รับชมทีวีในระบบดิจิตอลแก่คนไทยทั้ง 22 ล้านครัวเรือน ทั้งนี้ จะคิดมูลค่าคูปองจากราคาตั้งต้นการประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง หารด้วยจำนวนครัวเรือนที่มีอยู่ 22 ล้านครัวเรือนในประเทศไทย ซึ่งล่าสุด กสทช.อยู่ระหว่างการเจรจากับ กสทช.จากประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ประกอบด้วย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ในการกำหนดลักษณะเฉพาะของวัสดุอุปกรณ์ที่จะมาประกอบและผลิตเป็นกล่องรับสัญญาณทีวีในระบบดิจิตอลให้เป็นมาตรฐานพร้อมใช้งานแบบเดียวกันทั้งภูมิภาค

“การเจรจาความร่วมมือในลักษณะนี้ หากสำเร็จจะทำให้ผู้ประกอบการรายหนึ่งสามารถผลิตกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้สูงถึงครั้งละ 300-400 ล้านกล่อง เพื่อจำหน่ายทั่วภูมิภาค จากเดิมที่จะผลิตเพียง 60-70 ล้านกล่อง เพื่อให้เพียงพอสำหรับจำหน่ายประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ซึ่งปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตลดลง และส่งผลให้ราคากล่องรับสัญญาณถูกลงด้วย” พ.อ.นทีกล่าว และว่า ปัจจุบันกล่องรับสัญญาณที่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลจะมีราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1,000 บาท ซึ่งคาดว่าจากการเจรจาความร่วมมือกับ กสทช.ในภูมิภาคอาเซียน และการแข่งขันในตลาด ภายหลังมีการเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล ราคากล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลจะถูกลงแน่นอน

พ.อ.นทีกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินวงเงินรวมของประชาชนทั้งประเทศ ที่ต้องใช้สำหรับการซื้ออุปกรณ์เปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล เนื่องจาก กสท.กำลังรอข้อมูลราคาคลื่นที่แท้จริงในระบบทีวีดิจิตอล เพื่อมากำหนดราคาตั้งต้นการประมูลทั้ง 24 ช่อง ประกอบด้วยช่องแบบปกติ 20 ช่อง และที่มีความคมชัดคุณภาพสูง (เอชดี) 4 ช่อง จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะสามารถสรุปส่งให้ กสท.ได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะนำมากำหนดราคาตั้งต้นการประมูลและไม่เกี่ยวกับค่าอุปกรณ์รับสัญญาณแต่อย่างใด

“เป็นการยากที่จะคำนวณผู้ที่ได้รับคูปองสนับสนุนไปแล้วจะเลือกซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือทีวีเครื่องใหม่ที่สามารถจูนเนอร์สัญญาณทีวีดิจิตอลได้ โดยราคาเฉลี่ยของทีวีรุ่นใหม่ที่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้จะอยู่ที่ราว 1 หมื่นบาทขึ้นไป” พ.อ.นทีกล่าว

พ.อ.นทีกล่าวว่า นอกจากนี้คาดว่าการกำหนดจำนวนเงินอุดหนุนในคูปองสนับสนุน จะได้ข้อสรุปภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ หลังจากบอร์ด กสท.สามารถสรุปราคาตั้งต้นของการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มธุรกิจทั้งหมดได้ ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลทีวีดิจิตอลจะออกมาในช่วงเดือนเมษายนนี้ และการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มของช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง จะสามารถเกิดขึ้นภายในเดือนกรกฎาคม 2556

ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดการเปลี่ยนผ่านระบบทีวีอนาล็อกสู่ระบบทีวีดิจิตอล ด้วยวิธีการออกคูปองสนับสนุนการซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณแก่คนไทย เนื่องจากไม่ใช่การผลักภาระการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีให้ประชาชนฝ่ายเดียว แต่การคิดคำนวณมูลค่าเงินสนับสนุนในคูปอง ไม่ควรผูกติดกับมูลค่าคลื่นความถี่ของทีวีดิจิตอล เพราะการคำนวณหามูลค่าคลื่นที่แท้จริง มาจากการประเมินเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งจากนี้ไป กสทช.ควรเข้มงวดกับการกำกับดูแลคุณภาพของกล่องรับสัญญาณของทีวีดิจิตอล เพราะเชื่อได้ว่าเมื่อถึงเวลาจะมีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งที่นำเอากล่องรับสัญญาณราคาถูกที่ไม่มีคุณภาพมาจัดจำหน่ายแก่ประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอล ในกลุ่มของช่องประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ที่จะนำจำนวนเงินมูลค่าตั้งต้นของการประมูลมาใช้เป็นคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดิจิตอล เบื้องต้นผู้ที่อยู่ในข่ายและสนใจที่จะเข้าประมูล ประกอบด้วย ช่อง 3, 5, 7, 9 และผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน อาทิ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) สำหรับช่องประเภทธุรกิจที่เป็นระบบเอชดีจำนวน 4 ช่อง ซึ่งจะมีราคาตั้งต้นการประมูลที่สูงกว่าช่องปกติและเป็นที่หมายปองของผู้ประกอบการนั้น ปัจจุบันมีผู้แสดงความจำนงเข้าประมูลชัดเจนแล้ว 2 ราย ประกอบด้วย กลุ่มบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัท อินทัช จำกัด (มหาชน)


ตีพิมพ์ครั้งแรก: เว็บไซต์มติชนออนไลน์ วันที่ 13 มกราคม 2556 ในชื่อ ′ทีดีอาร์ไอ′หนุนแจกคูปอง 22 ล้านครัวเรือนเปลี่ยนกล่องทีวีดิจิตอล

เรื่องที่คุณอาจสนใจ